วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

 ความรู้พื้นฐานการนำเสนอข้อมูล            

          โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
            การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
            1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
            2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ 
การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง

        
เป็นการจัดรูปในการนำเสนอข้อมูลในลักษณะแถว (row) และสดมภ์ (column) แถว หมายถึง การเรียงตามแนวนอน สดมภ์ หมายถึง การเรียงตามแนวตั้ง เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบหรือการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปที่อ่านความหมาย ได้ทั้งแถวตั้งและแถวนอน สัมพันธ์กัน ลักษณะของตารางไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้จัดทำ ถ้าต้องการที่จะให้ตารางเป็นที่เก็บข้อความทางสถิติอย่างละเอียด ตารางนั้นจะต้องมีขนาดและขอบเขตกว้างขว้างมากพอ
         โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง  จะจำแนกตามลักษณะต่างๆ ที่แบ่งตามหัวเรื่อง โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
          2.1.1 ตารางแบบทางเดียว (one-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น เช่น จำนวนของลูกจ้างภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่ได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติม ไตรมาส 3 พ.ศ. 2551
ตารางที่ จำนวนของลูกจ้างภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่ได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมไตรมาส 3 พ.ศ. 2551 (หน่วย : คน)

ผลประโยชน์เพิ่มเติม
จำนวน
ยอดรวม
โบนัส
ค่าล่วงเวลา
เงินสดอื่นๆ
อาหาร
เสื้อผ้า
ที่อยู่อาศัย
อื่นๆ
5,423,500
144,400
1,879,900
2,566,000
1,472,100
139,600
737,600
652,800
แหล่งที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2551   สำนักงานสถิติแห่งชาติ
         2.1.2 ตารางแบบสองทาง (two-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกลักษณะสองลักษณะ เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ามาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานที่อยู่ก่อนย้าย และภาคที่อยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549
 ตารางที่ 2 จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ามาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานที่อยู่ก่อนย้ายและภาคที่อยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549 (หน่วย : คน)

ภาคที่อยู่ปัจจุบัน

รวม
สถานที่อยู่ก่อนย้าย
กรุงเทพ
มหานคร
ภาคกลาง
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
ภาคใต้
ต่าง  ประเทศ
ยอดรวม
 กรุงเทพมหานคร
 กลาง
 เหนือ
 ตะวันออกเฉียงเหนือ
 ใต้
1,062,155
93,241
249,931
181,595
474,883
62,505
440,641
-
80,736
77,873
256,754
25,278

234,754
20,200
-
70,141
130,095
14,318
95,179
19,124
43,311
-
24,986
7,758
183,474
46,933
111,676
12,413
-
12,451
50,031
5,617
8,677
6,447
29,290
-
58,077
1,367
5,531
14,721
33,758
2,699


แหล่งที่มา : การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ. 2549  สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          2.1.3 ตารางแบบหลายทาง (multi-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกตั้งแต่สามลักษณะ (three-way table) ขึ้นไปนั่นเอง เช่น อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากร จำแนกตามเพศ ภาค และเขตการปกครอง ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2551
ตารางที่ 3  อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากร จำแนกตามเพศ ภาค และเขตการปกครองไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2551 (หน่วย : ร้อยละ)

เพศ/เขตการปกครอง

รวม
ภาค
กรุงเทพ
มหานคร
กลาง
เหนือ
ตะวันออก      เฉียงเหนือ
ใต้
ยอดรวม
ชาย
หญิง
ในเขตเทศบาล
ชาย
หญิง
นอกเขตเทศบาล
ชาย
หญิง
73.5
81.5
65.8
70.8
78.6
63.8
74.6
82.8
62.8
70.7
79.0
63.6
70.7
79.0
63.6
-
-
-
73.8
81.7
66.4
72.5
80.0
65.7
74.4
82.5
66.7
73.0
80.0
66.2
69.5
76.3
63.3
73.9
80.9
67.0
73.7
82.3
65.3
69.5
77.2
62.2
74.5
83.2
65.9
74.9
83.2
66.9
70.6
78.8
63.0
76.3
84.6
68.2
  แหล่งที่มา : การสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2551 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่

            การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเห็นลักษณะที่เด่นชัดของข้อมูลได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว แผนภูมิเป็นสิ่งที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของบุคคลทั่วไปเพราะง่ายที่จะเข้าใจมากกว่าแบบตาราง และยังช่วยให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันได้ง่ายอีกด้วย แผนภูมิส่วนมากมักแสดงเฉพาะผลของข้อมูลที่มีจำนวนรายการเปรียบเทียบน้อย แต่ถ้าหากผลของข้อมูลที่มีจำนวนรายการเปรียบเทียบมากๆ ก็ควรแสดงด้วยตาราง สำหรับค่าที่ปรากฏอยู่ในแผนภูมินั้นส่วนมากเป็นค่าโดยประมาณ ด้วยเหตุนี้เวลาที่แสดงแผนภูมิจึงมักแสดงร่วมกับตาราง
แผนภูมิมีหลายชนิด เช่น
            2.2.1 แผนภูมิเส้น (line chart) คือเส้นกราฟที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมต่อกันระหว่างจุด (plot) ต่อจุดตามลำดับซึ่งจุดต่างๆ เหล่านั้น    ได้จากการลงจุด (plotting) ระหว่างค่า x และ y วัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้น ก็เพื่อที่จะให้มองเห็นการกระเพื่อมขึ้นลง (fluctuation) หรือแนวโน้ม (trend) ของกราฟ หรือข้อมูลใด ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นข้อมูลที่เป็นไปตามอนุกรมของเวลา นิยมนำเสนอในรูปกราฟเชิงเส้น ซึ่งอาจเป็นกราฟเส้นตรงหรือกราฟเส้นโค้งก็ได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาความเป็นไปของข้อมูลหรือใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต
         แผนภูมิที่ 1   ปริมาณมูลค่าสินค้าเข้าของประเทศไทย พ.ศ. 2517 – 2523 (หน่วย : ล้านบาท)

              
 
ที่มา :  กรมศุลกากร
            2.2.2 แผนภูมิแท่ง (bar chart) คือกราฟที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (เรียกว่า แท่ง) จำนวนหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแท่งสูงหรือยาวที่เปลี่ยนแปลงตามขนาด แต่มีความกว้างเท่ากันหมด เราอาจเรียงแท่งเหล่านี้ในทางตั้งหรือทางนอนก็ได้ โดยเว้นระยะช่องว่างตามสมควรและจะต้องเขียนโครงเรื่องจำแนกแต่ละแท่งให้ชัดเจนด้วย แผนภูมิแท่งอาจจะมีการระบายสีหรือแรเงาเพื่อให้ดูเด่น และในกรณีที่มีการเปรียบเทียบกันหลายแท่ง เช่น แผนภูมิแท่งซับซ้อนหรือเชิงประกอบ จำเป็นจะต้องระบายสีหรือแรเงา เพื่อจำแนกความแตกต่างของแผนภูมิแต่ละชุดที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น วัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิแท่งเพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงและการเปรียบเทียบข้อมูล 
แผนภูมิที่ 2  ปริมาณเนื้อที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยเป็นรายภาค ปีเพาะปลูก 2523/24

ที่มา  :  กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
               2.2.3 แผนภูมิวงกลม (pie chart) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้พื้นที่วงกลมแบ่งออกเป็นส่วนย่อยต่างๆ กัน ตามจำนวนข้อมูล การนำเสนอแบบนี้จะต้องแปลงจำนวนข้อมูลให้เป็นอัตราร้อยละก่อน แล้วจึงแบ่งพื้นที่วงกลมตามอัตราร้อยละ ข้อมูลที่จะนำเสนอด้วยวิธีนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์และจบอยู่เฉพาะเรื่องที่จะนำเสนอและต้องเป็นข้อมูลของทั้งหมดด้วย การสร้างแผนภูมิวงกลมเราอาจจะแบ่งจากจุดศูนย์กลางของวงกลมโดยเทียบให้ 360 องศา เป็น 100 เปอร์เซ็นต์ (%) แล้วคำนวณว่าอัตราร้อยละของข้อมูลจะได้เป็นมุมเท่าใด แล้วจึงลากเส้นแบ่งพร้อมทั้งแลเงาหรือระบายสีให้เห็นเด่นชัด 
แผนภูมิที่ 3  ร้อยละของลูกจ้างรัฐบาล จำแนกตามภาค ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2551


ที่มา : การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2551 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (มาตรฐานรหัส : รหัสเขตการปกครอง)